GOLF GLOSSARY

20 Jul 2016
  • Shares:

รวมศัพท์เทคนิคกอล์ฟ 

ยังไม่ครบนะครับ จะทยอยอัพเดตไปเรื่อยๆ จนครบ 

Balance Point

จุดสมดุลย์ของก้านไม้กอล์ฟ ก้านเปล่า หาได้โดยการวางก้านให้อยู่นิ่งๆ ในแนวนอน บนนิ้วมือ หรือวัสดุที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่มาก  วัดระยะตำแหน่งบนก้านที่ทำให้ก้านอยู่นิ่งๆ ได้ จะได้ตำแหน่ง Balance Point ก้านที่ Balance Point อยู่ค่อนไปทางปลายไม้ จะมีแนวโน้มทำให้ค่า Swing Weight มากกว่า ก้านที่หนักเท่ากัน แต่ Balance Point สูงกว่า (หัวและกริพหนักเท่ากัน) ในทางกลับกัน ก้านที่มี Balance Point อยู่ใกล้กริพ เมื่อโมไม้ที่ก้านน้ำหนักไล่เลี่ยกัน ก้านที่ Balance Point อยู่สูงกว่า จะมีโอกาสได้ค่า Swing Weight น้อยกว่า (หัวและกริพหนักเท่ากัน)

 

Bend Point

เป็นค่าที่ต้องการสื่อความหมายการดีดตัวของก้านไม้กอล์ฟ ว่าดีตัวบริเวณไหนของก้าน เพื่อสื่อความหมายของวิถีลูกของก้านนั้นๆ High Kick Point ก้านดีดตัวในตำแหน่งสูง ให้วิถีลูกพุ่งต่ำ Mid Kick Point วิถีปานกลาง และ Low Kick Point ดีดตัวในตำแหน่งต่ำ ให้วิถีลูกพุ่งสูง

 

C.G.

มาจาก Center of Gravity ภาษาไทยมีชื่อว่า จุดศูนย์ถ่วง เป็นจุดๆ หนึ่งของวัตถุใดๆ ซึ่งเมื่อนำไปวางไว้บนปลายเหล็กแหลม แล้วสามารถอยู่นิ่งๆ ได้ ไม่ล้มไปทางใดทางหนึ่ง ภาษาทางวิศวกรรม จุดนี้ ถ้า Take Moment แล้ว ซิกม่าโมเมนต์ = 0 โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

 

C.O.R.

มาจากคำว่า Coefficient of Restitution เป็นค่าทางฟิสิกส์ที่ใครเรียนสายวิทย์มา จะเจอตั้งแต่ตอนเรียนเรื่องโมเมนตัม เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของการชนกันของวัสดุ 2 ชนิด  เป็นค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการถ่ายเทพลังงานของวัตถุ 2 ชนิด เมื่อมาชนกัน ค่านี้เราจะจอบ่อยๆ เมื่อพูดถึงไดรเวอร์ ซึ่งกฎกอล์ฟระบุว่า ค่า C.O.R. ของหน้าไม้ต้องไม่สูงเกิน 0.83 การทดสอบ C.O.R. ของหน้าไม้ จะใช้วิธีการยิงลูกกอล์ฟเข้าไปกระทบหัวไม้ให้ตอนเข้ากระทบมีความเร็วเช่น 100 MPH แล้ววัดความเร็วของลูกกอล์ฟหลังจากพุ่งออกจากหน้าไม้ วัดได้เท่าไหร่ นำไปหารความเร็วลูกกอล์ฟก่อนกระทบ จะได้เป็นค่า C.O.R. เช่น ความเร็วลูกกอล์ฟก่อนชน 100 MPH หลังชน 83 MPH ค่า C.O.R. คือ 0.83 

 

C.P.M. 

มาจากคำเต็มว่า Cycles Per Minute การวัดความแข็งวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน การวัดจะนำเอาส่วนกริพของไม้กอล์ฟไปยึดไว้กับเครื่อง แล้วง้างหัวไม้เบาๆ ให้หัวไม้แกว่ง เครื่องวัด CPM จะวัดความแข็งออกมาเป็นค่า จำนวนครั้งของการแกว่งของก้านใน 1 นาที (การวัดจริง มิได้แกว่งนานถึง 1 นาที ) แกว่งไม่กี่วินาที เครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นค่าการแกว่งของก้านต่อ 1 นาที ก้านแข็งตัวเลขจะมาก ก้านอ่อนตัวเลขจะน้อย

 

Characteristic Time 

ตัวย่อคือ C.T. เป็นระบบการตรวจวัดค่าความเด้งของหน้าไม้ที่ผู้ตรวจสอบในทัวร์นาเม้นท์ สามารถยกไปทำการทดสอบได้ง่ายๆ ไม่ต้องยิงลูกกอล์ฟใส่หน้าไม้ให้ยุ่งยาก วิธีการคือ เอาไม้กอล์ฟมายึดกับเครื่อง หันหน้าไม้ให้อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมให้แผ่นเหล็กเข้ามากระทบหน้าไม้ หลังจากนั้นปล่อยแผ่นเหล็กเข้ามากระทบกับหน้าไม้ วัดเวลาที่แผ่นเหล็กค้างอยู่บนหน้าไม้ ต้องไม่เกิน 239 microseconds 

 

Face Progression 

เป็นการวัดออฟเซ็ตชนิดหนึ่งที่ทางญี่ปุ่นนิยมใช้ การวัดจากวัดระยะเยื้องของกึ่งกลางคอเหล็ก เทียบกับขอบล่างของเหล็ก วิธีนี้ ค่าที่แสดงออกมาจะสื่อความหมายตรงข้ามกับออฟเซ็ต กล่าวคือ ถ้า ค่า F.P. หรือ Face Progression น้อย หมายความว่า ออฟเซ็ตมาก ถ้า F.P. มาก หมายความว่า ออฟเซ็ตน้อย ถ้า F.P. ติดลบ แสดงว่า ออฟเซ็ตมากที่สุด

 

Kick Point

เป็นค่าที่ต้องการสื่อความหมายการดีดตัวของก้านไม้กอล์ฟ ว่าดีตัวบริเวณไหนของก้าน เพื่อสื่อความหมายของวิถีลูกของก้านนั้นๆ High Kick Point ก้านดีดตัวในตำแหน่งสูง ให้วิถีลูกพุ่งต่ำ Mid Kick Point วิถีปานกลาง และ Low Kick Point ดีดตัวในตำแหน่งต่ำ ให้วิถีลูกพุ่งสูง

 

Lie Angle 

เป็นค่ามุมเอียงของแนวก้านไม้กอล์ฟ เมื่อวางไม้กอล์ฟให้ร่องเหล็กขนานกับพื้น แล้ววัดมุมเฉียงของก้านเทียบกับแนวราบ 

 

 

M.O.I.

ชื่อเต็มๆ คือ Moment of Inertia ภาษาไทยใช้คำว่า โมเมนต์ความเฉื่อย เป็นค่าทางวิศวกรรมที่แสดงถึงคุณสมบัติการต้านทานโมเมนต์ ในทางวิศวกรรม ค่านี้จะมีทั้งแบบ Statics และ Dynamics แต่ในเรื่องของกอล์ฟส่วนใหญ่จะใช้แบบ Dynamics เป็นค่าแสดงถึงคุณสมบัติการต้านทานการหมุนรอบจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุใดๆ ในเรื่องของไม้กอล์ฟ ไม้กอล์ฟที่มีค่า M.O.I. สูงๆ จะต้านทานอาการสบัดของหัวไม้ เมื่อตีไม้เข้ากลางหน้าไม้Offsetคือระยะเยื้องของขอบล่างของเหล็ก เทียบกับขอบของคอเหล็ก เช่นขอบของคอเหล็กอยู่เป็นเส้นตรงเดียวกับขอบล่างของเหล็กก็จะไม่มีออฟเซ็ต ยิ่งขอบล่างของเหล็กเยื้องหนีออกจากคอไม้มากเท่าไหร่ หมายความว่า เหล็กยิ่งมีค่า ออฟเซ็ตมากขึ้นเท่านั้น 

 

SMASH FACTOR 

ความเร็วลูกกอล์ฟ / ความเร็วหัวไม้ Smash Factor เป็นค่าที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการถ่ายเทพลังงานจากหัวไม้สู่ลูกกอล์ฟ ค่านี้จะอยู่ระหว่าง 1.20-1.52 ในเหล็กสั้นถึงไดรเวอร์ 

 

Swing Weight

เป็นหน่วยการวัดบาล้านซ์ของไม้กอล์ฟ โดยการวัดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง หัวไม้ ก้าน และกริพ การวัดจะใช้วิธีเหมือนตาชั่งน้ำหนักของชาวจีนโบราณ หรือเครื่องชั่งน้ำหนักโบราณที่มีก้อนน้ำหนักแขวน เครื่องวัด Swing Weight ในอดีตจะมีที่ไม้บรรทัดวัดซึ่งมีสเกล เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข ตั้งแต่ A-E และ 0-9 วิธีวัดก็นำไม้กอล์ฟไปวางไว้บนเครื่องวัด แล้วค่อยๆ เลื่อนสเกลซ้ายขวาไปเรื่อยๆ จนไม้กอล์ฟนิ่ง ก้านอยู่ในตำแหน่งขนานพื้น อ่าน ตัวเลขบนไม้สเกล ก็จะได้ค่า Swing Weight ปัจจุบันมีเครื่องวัดแบบ Digital ก็รวดเร็วขึ้น

 

Torque

ภาษาไทยใช้คำว่า แรงบิด เป็นคุณสมบัติความแข็งของก้านชนิดหนึ่ง ซึ่งวัดในแนวตั้งฉากกับความยาวก้าน การวัดค่านี้จะใช้วิธีการยึดก้านให้แน่นและนิ่งๆ ฝั่งหนึ่ง ส่วนอีกฝั่งหนึ่ง นำก้อนน้ำหนัก 1 ปอนด์มาแขวนกับเพลาซึ่งยึดกับก้านอีกฝั่งหนึ่งให้แน่น แขวนให้ก้อนน้ำหนักห่างจากแกนกลางของก้าน 1 ฟุต แล้ววัดการบิดตัวของก้านว่ามีค่า กี่องศา ตัวเลขการบิดของก้านที่ได้คือ ค่า Torque ของก้าน มีหน่วยเป็นองศา  




SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8