หมุนพอดีมีพลัง มากไปขาดทั้งพลังและเสียทิศทาง

เรียบเรียงโดย โปรก็อต อภินัย วรรณไพโรจน์

19 Jul 2017
  • Shares:

OVER ROTATION

 

     ผมเชื่อว่า คงไม่ได้มี Perfect Swing ที่เหมาะสำหรับทุกๆ คน เนื่องจากสรีระและ ทักษะของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน แต่ผมคิดว่าก่อนที่ผมจะเข้าใจในการทำงานของวงสวิงที่หลากหลายได้นั้น ผมควรจะต้องเข้าใจรูปแบบของวงสวิงที่น่าจะใกล้เคียง Perfect Swing เสียก่อน ผมจึงเริ่มค้นคว้าหาตำราต่างๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อที่จะได้พบคำตอบในสิ่งที่ผมต้องการคือ “Perfect Swing” หลายปีก่อนผมได้พบหนังสือ Swing like a Pro. ของ Dr.Ralph Mann ที่ร้านขายหนังสือต่างประแห่งหนึ่ง

 

     จุดที่ทำให้ผมสนใจในหนังสือเล่มนี้ก็คือ เนื้อหา ภาพประกอบ และที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ ผู้เขียนซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้นำโปร PGA TOUR มากกว่า100 คน มาทำการวิจัยและนำจุดเด่นของแต่ละคนมาสร้างโมเด็ลสวิง 3-D ขึ้นมาหนึ่งสวิงที่น่าจะเป็น Perfect Swing และเขาได้ตั้งชื่อว่า “The Pro” 

 

     หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมได้เข้าใจกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาที่ผมนำเสนอในฉบับนี้จะเน้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหัวไหล่กับแขน ที่ผมมักเห็นลูกศิษย์นั้นมีปัญหาอยู่เป็นประจำ ปัญหาที่ว่านี้ก็คืออาการ  Over Turn 

     การ Over Turn นี้หมายถึงการที่นักกอล์ฟหมุนลำตัวและหัวไหล่ขึ้นไม้มากเกินไป โดยปราศจากการทำงานของแขน โดยจะเห็นได้จากภาพตัวอย่างที่ผมได้ แสดงให้ท่านดู ณ. ตำแหน่ง 9 นาฬิกาของแขนซ้ายหรืออาจจะเรียกว่าตำแหน่งครึ่งสวิงก็ได้ เมื่อเปรียบเทียบภาพของผมกับภาพของโปรระดับโลก จัสติน โรส และ แอรอน แบลดลีย์ จะเห็นว่าความแตกต่างอยู่ที่มุมของการหมุนไหล่

 

 

     ซึ่ง ณ ตำแหน่งนี้ถ้าแขนทำงานได้เป็นอิสระอย่างถูกต้องแล้วนั้น มุมของไหล่จะหมุนไปแค่ประมาณ 65-75 องศา เท่านั้น 

     นักกอล์ฟที่มีปัญหาเช่นนี้มักจะเข้าใจผิดไปว่าต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่เท่านั้นในการสวิง พวกเขาจึงไม่ปล่อยให้แขนทำงานอย่างเป็นอิสระ จริงอยู่ที่วงสวิงนั้นต้องมี Connection แต่หากว่าตีความหมายของคำนี้ผิดไปก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย อย่างเช่น ขึ้นไม้ได้น้อย ตีไม่ได้ระยะ (แม้ว่าจะดูออกแรงเยอะหรือตีแรงมากก็ตาม) อีกอาการที่พบบ่อยก็คือ ตี Slice (ลูกเลี้ยวจากซ้ายไปขวา) เป็นต้น

     จากการวิเคราะห์ “The Pro” Dr.Ralph Mann พบว่า Connection ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่าต้องล็อคแขนให้ตายอยู่กับลำตัว แต่แขนต้องทำงานให้สัมพันธ์กับลำตัว อย่างเป็นอิสระ ภาพด้านล่างผมจะแสดงกุญแจที่สำคัญในการหมุนให้ดูครับ

 

 

 

โปรก็อต อภินัย วรรณไพโรจน์

Director 

Photalai Golf Academy 

สนใจเรียนกอล์ฟกับโปรก็อต กดปุ่มโทรออกสีเขียวด้านล่าง

 

 

Tags : Learn Golf  ไดรฟไกล ตีไกล Longest Drive LonhestDrive ไดร์ฟไกล School Coach Power PowerTips Power Tips PowerTip PowerTip Fundamental


สอบถามเพิ่มเติม



SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8