อยากตีไกล สวิงเดิมๆ ต้องรู้จัก Pressure Shift

เรียบเรียงโดย โปรนพคุณ วงศ์หล่อ

23 May 2017
  • Shares:

   

      เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในวงการสอนกอล์ฟมากขึ้น ทำให้เราทราบข้อมูลที่ลึกมากขึ้นและช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีก็คือข้อมูลใหม่ๆที่เราอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนในอดีต ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้การเรียนการสอนกอล์ฟในยุคปัจจุบันแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น "การถ่ายน้ำหนัก" ซึ่งเราได้ยินกันมานานหลายสิบปี มาวันนี้การเรียนเรื่องการถ่ายน้ำหนักสามารถเข้าใจได้ง่ายๆลองอ่านบทความของผมในวันนี้ดูครับ

 

      "การถ่ายน้ำหนัก" หรือ weight shift คือการใช้แรงจากพื้นมาช่วยให้เราสร้างความเร็วหัวไม้ในขณะปะทะลูก ส่วน Pressure shift คือการย้ายแรงกดที่เท้าในขณะสวิง ผมเชื่อว่าคำที่ถูกนำมาใช้กันอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมาก็คือ "Ground reaction force" หรือ GRF คือแรงที่พื้นกระทำกลับมาหาเรา ซึ่งถ้าคุณเข้าใจข้อแตกต่างระหว่าง Weight shift และ Pressure shift คุณจะสามารถใช้พลังของ GRF ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ...

 

1. ต้องรู้จักกับ CoM ซะก่อน...

 

 

     ไม่ต้องตกใจไปนะครับว่า CoM คืออะไร เพราะจริงๆแล้ว CoM ย่อมาจาก Center of mass หรือ "ศูนย์กลางของมวล" โดย CoM จะกดลงไปที่พื้นเสมอ และทุกวัตถุในโลกนี้ที่มีน้ำหนักจะมี CoM ครับ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรายืนตัวตรง CoM ของร่างกายเราจะอยู่บริเวณสะดือของเรา (คร่าวๆ) แต่เมื่อเราชูแขนขึ้นเหนือหัว CoM จะย้ายขึ้นไปอยู่บริเวณหน้าอก หรือถ้าเราหันตัวไปทางขวา CoM ของเราจะย้ายไปอยู่บริเวณลำตัวซีกขวา และถ้าเราเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปทางซ้าย CoM ก็จะย้ายไปทางซีกซ้ายแบบนี้เป็นต้นครับ โดยเราสามารถมองเห็น CoM ได้ด้วยตาเปล่าครับ

 

 

 

     เมื่อเราทราบแบบนี้แล้วลองนึกถึงวงสวิงกอล์ฟดูครับ 

     - ในระหว่างที่เรา Set up ตำแหน่ง CoM ของเราจะอยู่ตรงกลาง

 

 

 

     - เมื่อเราเริ่ม Backswing ตำแหน่ง CoM ของเราจะเคลื่อนไปทางขวา

     และที่ตำแหน่ง Top ของ backswing ตำแหน่ง CoM ของเราจะเคลื่อนไปด้านบนเล็กน้อย

 

 

     - เมื่อเรา impact ตำแหน่ง CoM ของเราจะกลับมาทางซ้าย 

 

 

 

     เราสามารถคาดเดาได้ว่า CoM ของเราอยู่ที่ตรงไหนจากการถ่าย VDO โดยดูจากส่วนของร่างกายโดยรวมว่าอยู่ตรงไหนดังนั้น CoM ของเราจะมีการเคลื่อนไปมาอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เราสวิงครับ

 

2. CoP คืออะไร?

 

 

     เมื่อเราทราบแล้วว่า CoM คืออะไร อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทราบก็คือ CoP ครับ โดย CoP ย่อมาจาก Center of pressure หรือ "ศูนย์กลางของแรงดัน" โดยหลักๆแล้วเท้าของเราจะเป็นตัวกำหนดว่า CoP จะย้ายไปยังทิศทางไหน (แน่นอนว่าจะต้องมีแรงจากส่วนอื่นมาช่วยเพื่อเพิ่มแรงกดที่เท้า) และสิ่งที่น่าสนใจก็คือ GRF จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับ CoP ตลอดทั้งวงสวิงครับ ดังนั้นถ้าเราสามารถควบคุม CoP ได้ดี เราก็จะสามารถคุม GRF ได้ครับ แต่จะเราไม่สามารถมองเห็น CoP ได้ด้วยตาเปล่าเหมือน CoM นะครับ เราต้องใช้ความรู้สึก (ที่เท้า) ในการหา CoP ครับ

 

 

     CoP อาจจะอยู่ตำแหน่งเดียวกับ CoM ได้ในบางตำแหน่งของวงสวิง ยกตัวอย่างเช่น 

     - เมื่อเรา Set up ตำแหน่ง CoP จะอยู่ตรงกลาง

 

 

     - เมื่อเราเริ่ม Backswing ตำแหน่ CoP จะย้ายไปทางขวา

 

 

 

     - ก่อนที่เราจะขึ้น Backswing สุด  CoP ของเราจะย้ายมาทางซ้ายอย่างรวดเร็วเพราะนี้คือตำแหน่ง Transition และเป็นตำแหน่งที่นักกอล์ฟจำนวนมากไม่สามารถทำได้ และที่ Impact ตำแหน่ง CoP จะมาอยู่ที่ เท้าซ้าย อย่างสมบูรณ์ครับ

 

 

 

 

CoP trace คืออะไร?

 

     นอกจากสองค่านี้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทราบก็คือ CoP trace หรือเส้นทางการเดินทางของ CoP ในวงสวิง โดย CoP Trace จะเปรียบเสมือนลายเซ็นของเราครับ นักกอล์ฟแต่ละคนจะมี Trace ที่แตกต่างกันออกไป และโดยปกติแล้ว แนวสวิงของเราจะวิ่งไปตาม CoP trace ในช่วง Downswing ดังนั้นถ้าเราสามารถทราบค่า trace ได้ เราก็จะสามารถคาดเอาแนวสวิงที่เกิดขึ้นได้ครับ ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของ CoP trace จากเครื่อง Boditrak ครับ ซึ่ง CoP Trace คือเส้นขาวๆที่วิ่งไปมาระหว่างเท้าสองข้างครับ  

 

 

 

โดย CoP trace มีรูปแบบอยู่ 7 แบบ หลักๆคือ

 

1. Scattered trace - เป็นรูปแบบที่เห็นได้ในนักกอล์ฟ Handicap สูงๆ เพราะเป็น trace ที่ไม่มีความสเถียร

 

 

2. Abbreviated trace - เป็นรุปแบบที่เรามักจะเห็นในการเล่นลูกสั้นต่ำกว่า 100 หลา เพราะ trace แบบนี้ไม่ค่อยมีการถ่ายแรงกดไปทางขวามากนักครับ

 

 

3. Lateral trace - รูปแบบนี้จะพบมากในนักกอล์ฟที่ตีเหล็กได้อย่างแม่นยำเพราะมีการถ่ายแรงกดเป็นเส้นตรงจาก backswing ไปจน impact ครับ

 

 

4. Fish hook trace - รูปแบบนี้จะพบมากในนักกอล์ฟที่ตีดันออกไปทางขวาเยอะๆ หรือคนที่ตี Hook บ่อยๆครับ เนื่องจากมีจากถ่ายแรงกดมาที่ปลายเท้าขวามากในช่วง transition ทำให้ตัวโถมไปข้างหน้าครับ

 

 

5. Power trace - รูปแบบการถ่ายแรงดันแบบนี้เรามักจะไม่ค่อยพบนัก โดยเป็นการกดแรงดันในช่วง transition และถีบกลับมาที่เท้าขวาก่อนเข้าปะทะลูก ถ้าคุณมี trace แบบนี้อาจจะมีปัญหาหารตีเหล็กได้ครับ เนื่องจากมุมเข้าปะทะมีโอกาสเสยขึ้นมากกว่ากดลง แต่ข้อดีคือสามารถสร้างพลังได้เยอะกว่า trace ปกติครับ

 

6. Power X trace - นี่คือ trace สำหรับนักตีไกลโดยเฉพาะครับ เป็น Trace ที่หาได้ยากเพราะมีการถ่ายแรงกดไปที่เท้าขวาตอน backswing และถ่ายกลับมาเท้าซ้ายช่วง Transition ก่อนจะดึงกลับไปที่ปลายเท้าขวาตอนลงมาครึ่งทาง และถ่ายกลับไปที่ส้นเท้าซ้ายตอน impact

 

 

7. Heel Toe Trace - รูปแบบนี้จะพบในนักกอล์ฟที่ตีดันออกไปทางขวาหรือ hook เข้าซ้ายนะครับ เพราะมีการถ่ายแรงดันจากส้นเท้าขวาไปยังปลายเท้าซ้าย ทำให้แนวสวิงเป็นแบบ in to out มากเกินไปครับ

 

 

 

เราสามารถนำ CoP และ CoP Trace มาใช้กับสวิงของเราได้อย่างไร?

    

      ในทางปฏิบัติแล้ว เราสามารถเรียนรู้สวิงของเราผ่าน CoP และ CoP trace ได้อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณมี CoP trace ตอน Backswing จากปลายเท้าซ้ายไปปลายเท้าขวา นั้นแสดงมาคุณมีอาการศรีษะเคลื่อนมาข้างหน้าอย่างแน่นอน แบบฝึกที่ผมอยากจะฝากไว้ในวันนี้คือ 2 steps drill ซึ่งผมได้รับมาจาก Dr.Yong hoo kwon ใน Golf biomechanics Level 1

     แบบฝึกนี้จะเริ่มจากให้คุณ Set up ด้วยการยืนที่แคบกว่าปกติเล็กน้อย จากนั้นให้ลองก้าวเท้าขวาก่อนการ backswing และเมื่อขึ้นไปจนเกือบสุดวงให้ก้าวเท้าซ้ายออกไปพร้อมกับการ Downswing ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้ Pressure shift เกิดขึ้นมากกว่าปกติและทำให้เราสามารถสร้าง Groun reaction force ได้มากขึ้น ทำให้คุณตีได้ไกลขึ้นครับ ผมทดลองแบบฝึกนี้กับตัวเองผลประกฎว่าสามารถตีเหล็ก 7 ได้ถึง 200 หลาเมื่อวัดด้วยเครื่อง Flightscope ครับ

 

แบบฝึก 2 steps drill ของ Dr.Kwon

 

     ให้ลองทำแบบฝึกนี้ดูจนชินกับการย้ายแรงกด แล้วลองยืนปกติดูครับ ผมเชื่อว่าคุณจะได้ระยะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนครับ...
 

     สุดท้ายนี้สำหรับนักกอล์ฟที่ยังไม่มีโอกาสวัด CoP trace ของตนเองลองสังเกตุและใช้ความรู้สึกด้วยการ Swing อย่างช้าๆ และดูว่า Cop ของคุณอยู่ตรงไหน ในแต่ละช่วงของวงสวิงครับ แต่ถ้ามีโอกาสลองแวะเข้ามาที่ Pro Nopp Golf Academy ครับ ผมจะใช้แผ่น Boditrak วัดให้คุณด้วยตัวเองเลยครับ

 

"หมั่นพัฒนาวันละนิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตครับ" 

 

แล้วพบกันในบทความต่อไปครับ ^_^

 


รบกวนช่วยกันกด Share เพื่อประโยชน์ของเพื่อนนักกอล์ฟด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

นพคุณ วงศ์หล่อ
20 มีนาคม 2560
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทุกท่านสามารถติดตามผลงานหรือติดต่อผมได้ตามช่องทางต่อไปนี้ครับ

 

Tel: 096 992 2449

Line id: @pronopp.com

www.pronopp.com

www.pronopp.blogspot.com

Instagram: pro_nopp

FB: www.facebook.com/pronoppakhun

Youtube channel: https://www.youtube.com/channel/UCtmq3nKMMTztYXNRewVULYQ

 

Photo credit:

https://static1.squarespace.com/static/54912617e4b077b4cdf33e5a/t/559b13c2e4b0e8559d2a67c2/1436226503018/

www.boditraksports.com

Dr.Kwon golf bio mechanics level 1 manual


สอบถามเพิ่มเติม



SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8