GEAR EFFECT

30 Jun 2016
  • Shares:

ผมพยายามค้นข้อมูลว่า เรื่อง Gear Effect มีการคุยกันสมัยไหนในอดีต และเท่าที่ค้นคว้ามา เข้าใจว่าเป็นยุค ก่อนปีค.ศ.1941  ในวงการออกแบบอุปกรณ์กอล์ฟมีการค้นพบโดยการใช้กล้องถ่ายภาพความไวสูง โดยในขณะที่ลูกกอล์ฟกระทบหน้าไม้ของไดรเวอร์ แบบเยื้องจุดศูนย์กลาง (กระทบไม่โดนกลางหน้าไม้)

            หากกระทบค่อนไปทางปลายไม้ หัวไดรเวอร์จะเกิดการหมุนในลักษณะตามเข็มนาฬิกา และในทางตรงกันข้าม หากกระทบค่อนไปทางคอไม้  หัวไดรเวอร์จะเกิดการหมุนในลักษณะ ทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งการหมุนทั้ง 2 แบบนี้ จะไปสร้างแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นบนลูกกอล์ฟ ทำให้ลูกกอล์ฟหมุนในทิศทางตรงข้าม คล้ายๆ การทำงานของระบบฟันเฟืองของเกียร์

 

ถ้าลูกกอล์ฟกระทบค่อนทางด้านปลายไม้ หัวไดรเวอร์จะหมุนตามเข็มนาฬิกา พร้อมกับไปสร้างแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นบนลูกกอล์ฟ  ก่อให้เกิดแรงลัพธ์ทำให้ลูกกอล์ฟหมุนตรงข้ามกัน ซึ่งก็คือหมุนทวนเข็มนาฬิกา ทำให้ลูกกอล์ฟมีแบ็คสปินแบบอียงซ้าย  ลูกกอล์ฟจึงโค้งไปทางซ้าย

            ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกกอล์ฟกระทบค่อนไปทางคอไม้ หัวไดรเวอร์จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา พร้อมกับไปสร้างแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นบนลูกกอล์ฟ ก่อให้เกิดแรงลัพธ์ทำให้ลูกกอล์ฟหมุนตรงกันข้าม ซึ่งก็คือหมุนตามตามเข็มนาฬิกา ทำให้ลูกกอล์ฟมีแบ็คสปินแบบเอียขวา  ลูกกอล์ฟจึงโค้งไปทางขวา

          จากความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ ในปี ค.ศ. 1941 John Baymiller และ Robert Vose ก็มีความคิดว่า เมื่อลูกกอล์ฟมันเกิดปฎิกิริยาลักษณะนี้แล้ว ทำไมเราจึงไม่ออกแบบให้หน้าไม้มันโค้ง เพราะในเมื่อลูกกอล์ฟกระทบตรงปลายไม้และคอไม้แล้ว ลูกกอล์ฟจะเกิดแบ็คสปินเอียงซ้ายและเอียงขวา ปั่นให้ลูกเลี้ยวซ้าย และ ขวาตามลำดับ หากหัวไม้มีความโค้งแล้ว เวลาที่กระทบโดนปลายไม้ ลูกกอล์ฟก็จะสตาร์ทพุ่งออกไปทางขวาก่อน ก่อนที่จะเลี้ยวกลับมาทางซ้าย ในทางตรงข้าม เมื่อลูกกอล์ฟกระทบโดนคอไม้ ลูกกอล์ฟก็จะสตาร์ทพุ่งออกไปไปทางซ้ายก่อน ก่อนที่จะเลี้ยวกลับมาทางขวา  ซึ่งจากแนวความคิดนี้ ทั้งสองจึงได้ทำการค้นคว้าว่า แล้วค่าความโค้งที่เหมาะสมจะเป็นเท่าไหร่ดี ลูกกอล์ฟจึงจะโค้งกลับเข้ามาสู่เป้าหมายได้พอดี

ตั้งแต่นั้นมา ไดรเวอร์ก็มีการออกแบบให้หน้าไม้มีความโค้ง แทนที่จะเป็นหน้าไม้แบนตรงแบบในอดีต

            ในอดีต นักกอล์ฟที่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับ Gear Effect จะโมไม้ให้วิถีลูกเปลี่ยน โดยการใช้แผ่นตะกั่วแปะไปตามตำแหน่งต่างๆ บนหัวไม้

             เวลาที่มีการถ่วงตะกั่วไว้บริเวณคอไม้ จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเลื่อนไปทางคอไม้มากขึ้น ทำให้การตีเข้ากระทบกลางหน้าไม้ ก็เหมือนกับการตีเยื้องไปทางปลายไม้ ซึ่งทำให้หัวไม้หมุนในลักษณะตามเข็มนาฬิกา ทำให้เกิดแบ็คสปินเอียงซ้าย (ระยะหลังๆ หัวไดรเวอร์ยุคใหม่ มักจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ค่อนไปทางคอไม้เล็กน้อยอยู่แล้ว เพื่อให้การตีโดนกลางหน้าไม้ก็มีแบ็คสปินเอียงซ้ายเล็กๆ ช่วยทำให้ลูกเลี้ยวซ้ายนิดๆ ดรอว์นิดๆ )  ส่วนการถ่วงตะกั่วไว้บริเวณปลายไม้ก็จะได้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามกัน (แต่สมัยนี้ การถ่วงให้เฟด ต้องดูลักษณะหัวไดรเวอร์ของเราเอง เพราะอย่างที่บอก ไม้รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นจุดศูนย์ถ่วงมักอยู่ค่อนไปทางคอไม้อยู่แล้ว การถ่วงให้จุดศูนย์ถ่วงเลื่อนไปทางปลายไม้ อาจจะทำยากขึ้น หรือต้องใช้น้ำหนักถ่วงที่มากขึ้น จึงจะได้ผล)

คำเตือน : หลักการถ่วงน้ำหนัก เพื่อให้ลูกกอล์ฟมีไซด์สปินนั้น ไม่แนะนำให้ทำกับหัวไม้เล็กๆ เช่น หัวไฮบริดขนาดเล็ก ใบเหล็กทุกลักษณะ หรือแม้กระทั่งพัตเตอร์ เพราะมันจะไม่ได้ผล และการที่หัวไม้เล็กๆ เกิดการหมุน เนื่องจากการตีไม่เข้ากลางหน้าไม้จะเกิดผลเสียหายมากกว่าผลดี
ลองสังเกตกันดู หัวไม้ที่นำหลักการ GEAR EFFECT มาใช้ไม่ได้ จะทำหน้าไม้ให้แบนตรง ไม่ได้มีความโค้ง

เฉลิมวงศ์ บวรกีรติขจร

Chalermwong B.Kajorn

ผู้ดำเนินรายการตอบคำถามอุปกรณ์กอล์ฟ คลื่น FM99 รายการ Golf Trick ทุกวันศุกร์ เวลา 9:00-10:00 น.

30 / 6 /2559

https://www.facebook.com/GolferOnlineMag/

Official Line : @golferonline

Tags : Driver , Wood , Woods ไดรเวอร์ , ไดร์เวอร์ ม ไดรฟเวอร์ 




SOCIAL SHARES

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่านหรือเพื่อนร่วมก๊วน ฝากกดแชร์ที่เครื่องหมาย F ด้านใต้ข้อความนี้ครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านบทความของเรา


COMMENTS

OUR SPONSOR

OUR PARTNERS
  • partner 1
  • partner 2
  • partner 3
  • partner 4
  • partner 5
  • partner 6
  • partner 7
  • partner 8